บทวิจารณ์
เรื่อง
ความสุขของกะทิ
“มองประสบการณ์ชีวิตผ่านรูปเล่มวรรณกรรม”
สถาบันครอบครัว เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของสังคม
หากครอบครัวเข้มแข็ง สังคมก็จะเข้มแข็งไปด้วย ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองนั้นมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนปลูกฝังให้ลูกเป็นคนดี
ให้ทั้งความรักความอบอุ่น และให้การศึกษาแก่ลูกเพื่อให้ลูกเติบโตเป็นบุคคลที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
เป็นกำลังสำคัญให้กับสังคมประเทศและพัฒนาสังคมประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ปัจจุบันปัญหาสังคมต่าง ๆ เกิดจากครอบครัวที่มีปัญหานั้นมีมากมายและเพิ่มจำนวนขึ้นทุก
ๆ วัน อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการทำแท้ง การไม่รักนวลสงวนตัวของเด็กผู้หญิง
ปัญหาเด็กติดยาเสพติด และปัญหาเด็กเร่ร่อนไม่ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
หากมองย้อนกลับไปจะพบว่าเกิดจากรากฐานครอบครัวที่อ่อนแอลง
หากสังคมไทยไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว มีการละเลยเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
อนาคตของสังคมไทยจะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และจะนำไปสู่ปัญหาตามมามากมาย
วรรณกรรมมีอิทธิต่อวิถีชีวิตชองผู้คนในสังคม
วรรณกรรมกับสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด วรรณกรรมจึงเป็นสื่อกลางในการช่วยสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ขึ้น
สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา
กาญจนะวรรณ ( ๒๕๒o : ๔๘ -๔๙ ) กล่าวเสริมว่า
วรรณกรรมเป็นผลงานของมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นที่เก็บรวบรวมความคิด ความเป็นอยู่
และลักษณะสภาพต่างๆของมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไว้ด้วยกัน วรรณกรรมจึงกลายเป็นหนังสือที่สามารถสะท้อนสภาพสังคมได้
เสนีย์ เสาวพงศ์ ( อ้างถึงใน รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน ม.ป.ป. : ๑๕ – ๑๖ ) ได้เสนอข้อคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมกับสังคมว่า
เบื้องหลังปากกาที่สร้างงานเขียนหรือวรรณกรรม ก็คือผู้เขียนหรือนักประพันธ์
และเบื้องหลังนักประพันธ์ก็คือสังคม
นั่นก็คือความเป็นจริงของวรรณกรรมทุกเล่มที่มีทัศนะของผู้เขียนสอดแทรกในงานของเขา
พร้อมๆกับการถ่ายทอดประสบการณ์ของชีวิตของสังคมในงานเขียนของเขาแต่ละชิ้นในภาพของสังคมปรากฏในวรรณกรรมชิ้นนั้นๆ
จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
ตรีศิลป์ บุญขจร ( ๒๕๒๓ : ๖ – ๑o ) กล่าวว่า วรรณกรรมย่อมสัมพันธ์กับสังคม
วรรณกรรมสะท้อนประสบการณ์ชีวิตในยุคสมัยไม่ว่าจะจงใจสะท้อนสังคมหรือไม่ก็ตาม
นักวิจารณ์บางคนจึงกล่าวว่า วรรณกรรมเป็นคันฉ่องแห่งยุคสมัย
เนื่องจากเป็นภาพถ่ายชีวิตของยุคสมัยนั่นเอง
วรรณกรรมหรือนักเขียนจึงมีอิทธิพลต่อสังคม นักเขียนที่ยิ่งใหญ่นอกจากมีความสามารถในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้มีชีวิต
โน้มน้าวจิตใจผู้อ่านแล้ว ยังเป็นผู้มีทัศนะกว้างไกลกว่าคนธรรมดา
สามารถเข้าใจโลกและมองสภาพความเป็นจริงได้ลึกกว่าคนทั่วไปมองเห็น
ด้วยทัศนะที่กว้างไกลและลุ่มลึก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นอมตะ
เพราะไม่เพียงแต่จะเสนอภาพปัจจุบันอย่างถึงแก่นของความเป็นจริงเท่านั้น
แต่ยังคาดคะเนความเป็นไปในอนาคตได้อีกด้วย
ได้แสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมมีอิทธิพลและผลกระทบต่อสังคม
คือ วรรณกรรมมีส่วนอย่างมากที่จะให้แนวความคิด สร้างพลัง ให้ผู้อ่านได้รับความรู้
ความคิด และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งในระดับสังคมของผู้อ่าน ประเทศ และโลก
วรรณกรรมจึงผูกพันกับสังคมอย่างแนบแน่น
และมีบทบาทที่สำคัญในการชี้นำแนวทางให้กับคนในสังคมตลอดมา (พงษ์ศักดิ์
สังขภิญโญ)
อิทธิพลของวรรณกรรมต่อสังคมที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง
ความสุขของกะทิ อาจเป็นได้ทั้งในด้านอิทธิพลภายนอก เช่น
วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมชนบท และสังคมเมืองที่มีความแตกต่าง
ทั้งสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่
ค่านิยมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของผู้คนในแต่สังคม และอิทธิภายในที่มีส่วนก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต
ตัวอย่างคำพูดที่กินใจในเรื่อง เช่น อยู่ที่ไหน ก็ดูพระจันทร์ดวงเดียวกัน ทิ้งอดีตไว้ให้เป็นเพียงเงา
การอยู่กับปัจจุบันนาทีไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เป็นต้น
“ความสุขของกะทิเป็นตัวอย่างงานเขียนที่ถ่ายทอดความรู้สึกในเรื่องความรักความอบอุ่นของชีวิตครอบครัวและเป็นตัวแทนในการส่งมอบความสุขให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี”
จากข้อความดังกล่าวทำให้เห็นว่าวรรณกรรมนั้นมีอิทธิต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันอย่างมาก
วรรณกรรมเป็นเหมือนภาพที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมนั้น
ๆ ได้อย่างชัดเจน นวนิยายเรื่องความสุขของกะทิก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่า ชีวิตของคนเรามีทั้งสุขและทุกข์
ต้องพอเจอกับปัญหาและอุปสรรคมากมายในชีวิต ซึ่งเป็นที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีแก้ไขและต่อสู้กับปัญหาเหล่านั้น ไม่ยึดติดอยู่กับอดีต
และดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหวัง
นวนิยาย
เรื่องความสุขของกะทิ
เป็นนวนิยายที่แฝงไปด้วยความรักความอบอุ่น
ของคนรอบข้าง
ที่มีให้กันด้วยความจริงใจ
ซึ่งทำให้เด็กคนหนึ่งผ่านพ้นเรื่องร้ายๆไปได้ด้วยดี ถ้าคนในสังคมไทยมองเห็น ความรัก
ความจริงใจของคนรอบข้างชีวิตก็จะมีแต่ความสุข และเป็นนวนิยายที่สอนคนให้รู้จักความเข็มแข็ง อดทนต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
นวนิยายเรื่องความสุขของกะทิ จึงเป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย ที่สามารถสอนให้เรามีความคิด มีสติ
เผชิญกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นและต่อสู้กับมันจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และชีวิตจะมีความสุขดังเดิม จะเห็นได้ว่า
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าวรรณกรรมประเภทนวนิยายขนาดสั้นเรื่องความสุขของกะทิก็มีส่วนในการสร้างสรรค์สังคม
โดยเฉพาะเป็นภาพสะท้อนความสุขให้กับสังคม
เป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิตครอบครัวให้กับผู้คนในสังคม
ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตครอบครัวไม่ให้เกิดปัญหาและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน
ทัศนะของนักเขียนที่มีต่อ
“ความสุขของกะทิ”
"งดงามและสะอาดสะอ้าน
กินใจ จับใจ" วาณิช จรุงกิจอนันต์
"เรียบง่าย
สวยงาม สั้น แต่สั่นอารมณ์" วินทร์ เลียววาริณ
"วิธีการนำเสนอเรื่องสะเทือนอารมณ์ลึกซึ้ง" เอริก้า วากเนอร์ (สนพ.อัลแลนแอนด์อัลวิน
ออสเตรเลีย)
"สวยงามลึกซึ้ง
เต็มไปด้วยความหมาย เศร้า แต่ให้ความหวัง เป็นอัญมณีน้อยที่เปี่ยมพลัง" เคทลิน ดลุย (สนพ.อเธเนียมบุ๊คส์ไซมอนแอนด์ซูสเซอร์
สหรัฐฯ)
"ใช้คำน้อย
แต่เป็นงานเขียนที่รุ่มรวยและอบอุ่น" คริสทีน
เบเคอร์ (สนพ.กาลิมารเยาวชน ฝรั่งเศษ)
"เป็นวรรณกรรมชิ้นงาม
ไร้จริต ประทับใจ" อัวร์ซูล่า เฮ็กเคล (สนพ.เซซิลีเดรสเลอร์ เยอรมนี)
"ไม่ใช่หนังสือแนวแฟนตาซีตามสมัยนิยม
แต่เต็มไปด้วยอารมณ์อบอุ่นลึกซึ้ง" ฮิโรโกะ
โยโกงาว่า
(สนพ.โคดันฉะ
ญี่ปุ่น)
ความสุขที่ได้ระหว่างการเขียนเรื่องนี้มากล้น
และความสุขเพิ่มขึ้นเมื่อผลงานปรากฏออกมาเป็นหนังสือ หวังหมดใจว่าจะสร้างความบันเทิงให้กับผู้อ่านได้
แม้ในช่วงเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง (ก็หนังสือเล่มเล็กนิดเดียว)
ถ้าถูกใจก็สัญญาว่าจะมีงานเขียนอื่นตามมา
ถ้าไม่ถูกใจก็จะกลับไปก้มหน้าแปลหนังสือต่อไปโดยดี” (งามพรรณ เวชชาชีวะ )
คำประกาศของคณะกรรมการตัดสิน รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
(ซีไรต์)
ของประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช
๒๕๔๙
คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
มีมติให้นวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ ของงามพรรณ เวชชาชีวะ
ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช
๒๕๔๙
ความสุขของกะทิ เป็นนวนิยายขนาดสั้น
เล่าเรื่องราวของกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่ต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญที่สุด
เมื่อแม่ต้องจากไปก่อนวัยอันสมควร กะทิได้ผ่านขั้นตอนความสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก
ความสมหวังและความสูญเสีย ถึงกระนั้น
กะทิได้เรียนรู้ว่าความทุกข์จากการสูญเสียไม่อาจพรากความสุขจากความรักและความผูกพันของแม่กับเธอได้
เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความเชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด
ผู้ที่เธอรักและรักเธอ
ความสุขของกะทิ
เป็นงานศิลปะที่สร้างสรรค์องค์ประกอบอย่างหมดจดงดงาม
สื่อแนวคิดซึ่งเป็นที่เข้าใจได้สำหรับคนอ่านหลากหลายไม่ว่าอยู่ในวัยและวัฒนธรรมใด
เสน่ห์ของนวนิยายเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่องที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อยๆ
ผ่านมุมมองของตัวละครเอก ด้วยภาษารื่นรมย์ แฝงอารมณ์ขัน
สอดแทรกความเข้าใจชีวิตที่ตัวละครได้เรียนรู้ไปตามประสบการณ์
ความสะเทือนอารมณ์จะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน
นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษมที่ได้สัมผัสประสบการณ์ของชีวิตเล็กๆ
ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง
นวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ จึงสมควรได้รับ ของงามพรรณ เวชชาชีวะ
ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช
๒๕๔๙
ความสุขของกะทิ
ถูกมองเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ความสุขของกะทิถูกมองว่าเป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นสำหรับเด็กเท่านั้นเนื่องจากมีตัวละครเอก
อย่างกะทิ เด็กผู้หญิงที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้และดำเนินเรื่องให้เป็นไป
ความจริงแล้ว “ความสุขของกะทิ” เป็นวรรณกรรมสำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย
ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ
ซึ่งมีการซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ได้แก่
ภาษาฝรั่งเศล ภาษาคาตาโลเนีย ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี ภาษาลาว และภาษาจีน
ข้อสังเกตอีกอย่างคือว่า
หลายตอนของเรื่องนี้ค่อนจะเจาะลึกของเนื้อหาและมีการใช้สัญลักษณ์
และจินตนาการลึกซึ้งในบางตอน แต่เพราะตัวเอกเป็นเด็ก
เลยถูกจับให้เข้าไปอยู่ในหมวดวรรณกรรมเด็ก นิยายเรื่องนี้มีโครงเรื่องที่ไม่ได้เฉียบขาดหรือหักมุมเท่าไรนัก
แต่โดดเด่นที่การบรรยายและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นตัวอย่างดี
มีการเลือกใช้สำนวนภาษาและการเรียบเรียงประโยคถ้อยคำอย่างสละสลวยงดงามและกินใจนัก
ประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่านความสุขของกะทิโดยเฉพาะเด็ก ๆ
เอง ที่จำเป็นต้องอ่านเพื่อความรู้ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการอ่านหนังสือให้กับเด็ก
ๆ
นอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความบันเทิงทำให้พวกเขาสนุกไปกับอ่านหนังสือ
ในเรื่องยังแฝงด้วยข้อคิดดี ๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น ทำให้รู้ว่าครอบครัวคือความรักที่ดีที่สุด
ให้มีความอดทนและต้องไม่ให้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เข้ามาในชีวิต เป็นต้น
เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ๆ รวมไปถึงผู้ใหญ่ทุก ๆ
คนให้หันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น
เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะด้านการอ่านและเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองสามารถเปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างมากขึ้น
ซึ่งใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่ามากที่สุด
นวนิยายเรื่อง “ความสุขของกะทิ”
นี้ยังนำเสนอข้อคิดหลายข้อคิด เช่น
คนเราเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมย่อมช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยกัน ดังประโยคที่ว่า “...ทุกคนเกรงใจตา
แต่ตาเป็นที่พึงของหลายคนในยามยาก ” (หน้า
๒๖) และทำให้คนเรารู้ว่าการที่เรามีความสุขนั้น ความสุขของคนรอบข้างก็คือความสุขของเราด้วย ดังประโยคที่ว่า “แม่ของกะทิเคยให้ความช่วยเหลือหลายครั้ง โดยเฉพาะค่าเล่าเรียน แม่ดูจะทำให้คนรอบข้างมีความสุขได้อย่างน่าชื่นชม” (หน้า ๑๐๖)
จากข้อความดังกล่าวเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ตาและแม่ของกะทิได้ช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มใจ โดยที่ผลบุญนั้นตกมาถึงกะทิ
ที่มีคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา
ซึ่งสามารถมองย้อนกลับมาในสังคมปัจจุบันการที่เรามีน้ำใจกับผู้อื่น
คอยช่วยเหลือผู้อื่น
ยามที่เราเดือดร้อน
เราก็จะมีคนคอยช่วยเหลือเราตลอดเวลา
เราช่วยเหลือผู้อื่นเราก็มีความสุข
ผู้รับก็มีความสุขเช่นกัน
สุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
อัตลักษณ์ที่สะท้อนภาพสังคมครอบครัวที่อบอุ่นในเรื่องสั้น
“ความสุขของกะทิ”
“มองประสบการณ์ชีวิตของเด็กผู้หญิงที่ชื่อกะทิเป็นตัวแทนสะท้อนภาพสังคมและชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น”
ความสุขของกะทิ
เป็นนวนิยายที่สะท้อนให้เห็นการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดเจน
โดยเฉพาะวิถีชีวิตของครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูง และการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมแบบชนบท
ของครอบครัวกะทิ ที่อาศัยอยู่กับตายายที่บ้านริมคลอง
ซึ่งมีวิธีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่แบบพอเพียง วิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกับแม่น้ำริมคลอง
ทำให้เห็นว่าคนเราต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
และทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมอย่างสงบสุข สะท้อนให้เห็นสังคมวัฒนธรรมแบบไทย ๆ
ซึ่งอาจจะหาดูได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้ เป็นชีวิตอย่างที่ผู้คนจำนวนมากในเมือง ต่างก็โหยหา
เรื่องราวชีวิตของเด็กผู้ชื่อกะทิที่ถึงแม้จะมีทั้งตาและยายคอยให้ความรักและใส่ใจดูแลเธอเป็นอย่างดี
แต่ลึกลงไปในจิตใจของเด็กหญิง ก็ทำให้เธออดที่จะคิดถึงแม่ไม่ได้
แม่ผู้เก็บความลับในชีวิตของเธอไว้
นวนิยายเรื่องนี้ได้ถ่ายทอดความรู้สึกในเรื่องของความรักความอบอุ่นในครอบครัวอย่างเห็นได้ชัด
เจน ไม่ว่าจะเป็นความรักที่แม่มีให้กับกะทิ ดังข้อความที่บอกว่า “รักแท้หนึ่งเดียวของแม่คือหนู”
(หน้า ๙๓) ทำให้เห็นว่าความรักที่แม่มอบให้กะทินั้นมันมากมายเพียงใด
แม่ยอมเลือกที่จะอยู่ไกลจากกะทิเพื่อความปลอดภัยของกะทิเอง
ทำให้แม่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะความคิดถึงลูก และต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่ทำร้ายสุขภาพของแม่ให้อ่อนแอลงทุกวัน
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความรักที่ตากับยายมีให้กับลูกสาว (ณภัทรแม่ของกะทิ) แสดงถึงความรักและความห่วงใยที่พ่อแม่มีให้กับลูก
ความรักของกะทิที่มีให้กับแม่ก็เช่นเดียวกัน
ถึงจะมีอุปสรรคมากมายแค่ไหน แต่ก็ไม่ทำให้กะทิล้มเลิกความตั้งใจที่จะได้เจอหน้าแม่
กอดแม่ บอกรักแม่ และอยู่กับแม่ ถึงจะเป็นเวลาแค่สั้น ๆ ก็ตาม ดังประโยคที่ว่า “กะทิลูกแม่ กอดแม่แน่น ๆ ซีจ๊ะ ลูกรัก” (หน้า
๔๗) สะท้อนให้เห็นสายใยรักและความผูกพันที่แม่มีให้กับลูก
เป็นครอบครัวที่มีให้ทั้งความรักและความอบอุ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตามไปกับตัวละครได้อย่างมาก
ที่สำคัญสามารถเป็นตัวอย่างให้กับครอบครัวของผู้อ่าน และทุก ๆ ครอบครัวได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว
ความรักความห่วงใยที่ตากับยายมีให้กะทิและกะทิก็มีให้ตากับยายเองนั้นไม่แพ้ความรักที่แม่มีให้กับกะทิหรือกะทิมีให้กับแม่เลย
ตากับยายช่วยเลี้ยงดูกะทิเป็นอย่างดี
ให้ความรักความอบอุ่นและเต็มเติมส่วนที่ขาดหายไปให้กับกะทิ ทำให้กะทิไม่รู้อ้างว้างเดียวดาย
ตากับยายคอยอบรมสั่งสอนให้กะทิเป็นเด็กดี มีน้ำใจ มีความกตัญญู
และรักกะทิมากที่สุดในชีวิต จะเห็นได้จากตอนที่ยายเปิดประตูเข้าไปในห้องนอนของกะทิแล้วนอนกอดกะทิไว้ในคืนที่ฝนตกหนักจนทั้งสองนอนหลับไปด้วยกันถึงเช้า (หน้า ๒o) และในตอนที่กะทินั่งเล่นที่ท่าน้ำตาก็เดินมานั่งข้าง
ๆ กะทิ และรั้งตัวกะทิเข้าไปกอดไว้แน่น เพื่อบอกให้กะทิรู้ว่าตารักกะทิมากแค่ไหน
(หน้า ๑๑๓) สะท้อนให้เห็นถึงความรักความห่วงใยที่ตายายมีให้กับกะทิ ทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงการเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูกหลานของตนเองให้มากขึ้น
เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจและเป็นอนาคตที่ดีของสังคม
นอกจากนี้ยังทำให้เห็นความรักความผูกพันแบบเพื่อนระหว่างกะทิกับทอง ความรักและเคารพที่ฏาและกันต์มีให้กับณภัทร(แม่ของกะทิ)
และความรักแบบญาติพี่น้อง ที่ลุงตองมีให้กับณภัทร และทุก ๆ
ความรักและความห่วงใยที่ทุกคนมีให้กับกะทิ ทำให้ผู้อ่านซาบซึ้งไปกับเรื่องราวความรักและความอบอุ่นของคนในความครัวของกะทิ ซึ่งสามารถสร้างความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ
ให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างมาก ดังจะได้ในตอนที่ทองกลับมาจากต่างประเทศก็ได้ซื้อหนังสือดูดาวกลับมาฝากกะทิด้วย
กะทิจึงขอบคุณทองด้วยความจริงใจ (หน้า ๑๑๖)
แสดงให้เห็นถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจของเพื่อน การนอบน้อมขอบคุณที่เพื่อนให้มอบของแก่เรา
และตอนที่แม่ของกะทิแม่เริ่มป่วยทุกคนก็ช่วยกันดูแลแม่ของกะทิเป็นอย่างดี ดังในประโยคตัวอย่างที่ตาของกะทิบอกว่า
“น้าฎาเป็นมือขวา มือซ้าย เท้าขวา เท้าซ้ายของแม่” (หน้า๕๕) จนกระทั่งแม่ของกะทิจากไปแล้ว ทุกคนในครอบครัวทั้งตากับยาย
ลุงตอง น้าฎา และน้ากัณต์ ก็ยังช่วยดูแลกะทิเป็นอย่างดี
ทำให้กะทิได้รับทั้งความรัก และกำลังใจที่ดีจากครอบครัวจึงทำให้กะทิสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขและมีความหวัง
สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตของคนในสังคมว่า
ทุกคนยอมพบเจอกับความสุขและความทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น
ต้องเจอกับอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ต้องต่อสู้ดิ้นรนและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมให้ได้
ความสุขของกะทิจึงทิ้งท้ายด้วยข้อคิดต่าง
ๆ ที่ทำให้เรามีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของคนเรานั้นมีทั้งสุขและทุกข์ ให้มองข้ามอดีตที่ผ่านมา เราต้องอดทนและต่อสู้กับปัญหาต่าง
ๆ ที่
เข้ามาในชีวิตอย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งสำคัญ
คือ ให้เราอยู่กับชีวิตปัจจุบัน ควรทำวันนี้และทำทุก ๆ
วันให้ดีที่สุดเพราะชีวิตของคนเรานั้นไม่มีความแน่นอน ชีวิตแปรเปลี่ยนได้เสมอ มีความสุขกับปัจจุบันที่เป็นอยู่
เพราะความสุขนั้นอยู่รอบ ๆ ตัวเราไม่ต้องไปไขว่าคว้าหาที่ไหน
โดยเฉพาะกับคนในครอบครัวของเราเอง ถ้าทุกคนในครอบครัวให้ความสำคัญกับสมาชิกของตน
เป็นกำลังใจที่ดี แบ่งปันความรักและความสุขให้แก่กัน อยู่เคียงข้างกันไม่ว่าในยามที่สุขหรือทุกข์ก็จะทำให้ทุกคนมีชีวิตที่เป็นสุขได้
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า
นวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ ได้ปรากฏภาพสะท้อนทางสังคมต่าง ๆ อย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ทั้งสังคมแบบชนบทและสังคมเมืองที่มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่โหยหา ความรัก ความห่วงใย ความเสียใจ และรวมไปถึงความผูกพันอันเป็นสายใยในครอบครัวเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างภาพสะท้อนของครอบครัวที่อบอุ่นนี้
ที่เป็นตัวแทนส่งมอบความสุขให้กับผู้อ่าน และผู้ชมทั้งในสังคมประเทศและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นแล้ว ถ้าสถาบันครอบครัวมีความพร้อมและแข็งแรงมั่นคงแล้ว
สังคมประเทศก็จะเกิดการพัฒนาตามไปด้วย ทั้งนี้รวมไปถึงว่าเป็นวรรณกรรมมีอิทธิต่อสังคมในปัจจุบันอย่างมาก
มีส่วนช่วยสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ขึ้น โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ
เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก ๆ เยาวชนไทยที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมประเทศให้เจริญก้าวหน้า
เมื่อเราอยู่ร่วมกันในสังคมทุกคนจึงต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมประเทศ ทุกคนช่วยเหลือกัน แบ่งปันความสุขและมีน้ำใจต่อกันก็จะทำให้สังคมเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีและน่าอยู่ขึ้น
บรรณานุกรม
งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2552). ความสุขของกะทิ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ
ฯ : แพรวสำนักพิมพ์.
รุจิโรจน์ ยอดขำ. ความสุขของกะทิ…กับชีวิตที่เข็มแข็ง. สืบค้นเมื่อวันนี้ 25 กันยายน 2556.
อิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรมต่อสังคม. สืบค้นเมื่อวันนี้ 25 กันยายน 2556.